คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ... คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดี ที่ 14 กุมภาพันธ์  2556

สัปดาห์ที่  16

การเรียนการสอน

  วันนี้อาจารย์ได้นำนักศึกษาไปเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์การใช้แก้วน้ำส่วนตัว  ณ ลานแดง  ซึ่งภายในงานมีเกมให้เล่นมากมาย ซึ่งดิฉันก็ได้ร่วมเล่นเกมแต่ก็พลาดของรางวัลไปทุกครั้ง จนเพื่อนสงสารเลยให้มาชิ้นหนึ่ง และวันนี้ก็ยังเป็นวันวาเลนไทน์อีกด้วย

 
 
        หลังจากร่วมกิจกรรมเสร็จก็เข้าห้องเรียนตามปกติ ซึ่งสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอนแล้ว อาจารย์จึงให้ดูตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ของรุ่นพี่ที่ไปฝึกสอนมาให้ดู





วันพฤหัสบดี ที่  7 กุมภาพันธ์  2556

สัปดาห์ที่  15

การเรียนการสอน

อาจารย์ให้เพื่อนสาธิตการสอน ... หน่วย ต้นไม้ ...

วันจันทร์ (เรื่อง ประเภท)
- อาจารย์ยกตัวอย่างจากสัปดาห์ที่แล้ว
- ใช้คำถามเชิญชวน
- แยกประเภทของต้นไม้

วันอังคาร (เรื่อง ลักษณะของต้นไม้)
- ถามความรู้ที่ได้จากเมื่อวาน
- นำต้นไม้มาให้เด็กสังเกต
- ส่งต้นไม้ให้เด็กๆดู
- ดูความแตกต่าง ของ ราก พื้นผิว สี เป็นต้น เขียนเป็นตาราง
- นำเสนอเป็นวงกลม "ยูเนี่ยน"

วันพุธ (เรื่อง ส่วนประกอบ)
- ใช้คำถาม
- นำรูปภาพมาให้เด็กดู

 
วันพฤหัส (เรื่อง ประโยชน์) - ใช้นิทานในการสอน

วันศุกร์ (เรื่อง โทษของต้นไม้)
- ให้รูปภาพที่ได้รับอันตรายจ่กต้นไม้มาให้เด็กดู
- สามารถใช้นิทานได้


   วันนี้ดิฉันตั้งใจเรียนและฟังเพื่อนออกมาสาธิตการสอนเป็นอย่างดี ให้ความรวมมือในการทำกิจกรรม บรรยากาศในห้องเรียนเพื่อนๆสนใจและตั้งใจเรียนกันมาก


วันพฤหัสบดี ที่  31 มกราคม 2556

สัปดาห์ที่  14

การเรียนการสอน


วันนี้กลุ่มของเพื่อนออกมาสาธิตการสอน


                        เรื่อง ดิน



วันจันทร์---ชนิดของดิน

-เราถามด็กว่าเด็ๆรู้จักดินแบบไหนบ้างคะ เพื่อทอดสอบประสบการเดิม เป็นการแบ่งปันความรู้ มีส่วนร่วม คิดถึงเหตุการณ์
-เขียนลงบนกระดานตามที่เด็กบอก(เขียนให้อยู่ในเลขฐานสิบ)
-เขียนตัวเลขกำกับเพื่อให้เด็กนับ แล้วถามเด็กว่าดินมีทั้งหมดกี่ชนิด

เช่น

1ดินน้ำมัน

2ดินเหนียว

3ดินปืน

4ดินสอสี

5ดินทราย

6ดินร่วน

                    7ดินสอ

                    8ดินสอพอก

                    9ดินแดง

                    10ดินแดน


-หลังจากนั้นนำดินที่เราเตรียมมาใส่ตะกร้าหรือกล่งเพื่อที่จะให้เด็กลองคาดคะเน เด็กๆคะเด็กๆคิดว่าในตะกร้านี้มีอะไรคะ
-นำดินที่เราเตรียมว่าให้เด็กลองจับ สังเกต ถามเด็กว่าดินที่ครูเตรียมมามีกี่ชนิด ลักษณะของดินเป็นแบบไหน
-แล้วก็นแยกประเภท นำมาเที่ยบ1-1



วันอังคาร---ลักษณะของดิน


-นำดินที่เตรียมมาให้เด็กสัมผัส แล้วให้เด็กสังเกตความแตกต่าง สีของดิน ขนานของดิน รูปร่าง
-พอเด็กตอบนำมาเขียนเป็นตาราง
-นำเสนอเป็นแผนภูมิวงกลม

แผนภูมิวงกลม








วันพุธ--สิ่งที่อยู่ในดิน


-พาเด็กออกไปข้างนอกหรือคณุเตรียมดินใส่ถุงแล้วนำ หอย ก้อนหิน ใส้เดื่อน เปลือกไม้ หนอน เป็นต้น




วันพฤหัสบดี--ประโยชน์ของดิน

 

-บอกถึงประโยชน์ของดิน
-เล่านิทาน ให้เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์ หรือใช้เพลงก็ได้


วันศุกร์--ข้อควรระวัง


-บอกให้เด็กเข้าใจว่าในดินนั้นมีอะไรบ้าง
-อาจใช้หุ่นมือมาเลาานิทาน

*-* ในวันสุดท้ายควรให้เด็กได้ลองมือปฏิบัติจริง ได้ลงมือสัมผัส ให้เด็กทำกิจกรรมเตรียมดินปลูกต้นไม้






 
วันพฤหัสบดี ที่  24  มกราคม 2556

สัปดาห์ที่  13

 การเรียนการสอน

เนื้อหาที่เรียนในวันนี้

หน่วยสาระที่จะสร้างขึ้นให้แยกออกเป็น 5 วันวันจันทร์-วันศุกร็์
ให้บูรณาการคณิตศาสตร์เข้าไปด้วย
พัฒนาการทางด้านสติปัญญา


อธิบายหัวข้อคุณหมอ
....เด็กๆรู้จักหมออะไรบ้างคะ
....รู้จักหมออยู่2ประเภทคือใกล้ตัวเด็กและเด็กรู้จัก
....เด็กอยากทราบไหมค่ะว่าหมอมีข้อแต่ต่างกันอย่างไร
....เด็กๆนับหมอฟันสิว่ามีกี่คน คุณหมอมีทั้งหมอเท่าไร


หลักในการเลือกหน่วยการเรียนรู้ให้กับเด็ก สิ่งที่ควรคำนึง


1ใกล้ตัวเด็ก

2มีผลกระทบกับเด็ก

3ในชีวิตประจำวัน

*-* เด็กเกิดประสบการณ์---ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5---ลงมือกระทำ---เป็นวิธีการเรียนรู้
*-* สิ่งที่เหมาะในการบอกประโชยน์คือ หยิบออกมาให้เห็น
*-* ช่วงความสนใจของเด็ก 20-25 นาที
*-* จังหวะที่เหมาะกับนิทาน
*-* การชั่งน้ำหนักด้วกิโล  


                                
                                                                 ตัวอย่างการวัดระยะทาง





วันพฤหัสบดี ที่  17 มกราคม 2556

สัปดาห์ที่  12

การเรียนการสอน

 ในวันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับการเรียนเรื่องเศษส่วน จำนวนของตัวเลขหลักสิบหลักหน่วยการแยกแยะจำนวนต่างๆ     ว่าถ้าพูดถึงคำว่าทั้งหมดจะหมายถึงเรื่องของเศษส่วน และเศษส่วนก็คือการแบ่งสิ่งของต่างๆให้เท่ากัน จากนั้นก็สอนว่าการจัดประสบการณ์ให้เด็กควรมีหลักในเรื่นการจัดคือ เรื่องนั้นต้องเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก มีประโยชน์ต่อเด็ก และการสอนเด็กควรสอนให้ได้ปฏิบัติ ลงมือกระทำด้วยตนเอง ไม่ใช่สอนแต่เพียงทฤษฎีอย่างเดียว และอาจารย์ก็ได้บอกว่าการที่จะนำกราฟมาสอนเด็กควรนำกราฟรูปภาพมาสอน เพราะเป็นกราฟที่เด็กสามารถเข้าใจได้ง่ายที่สุดในบรรดากราฟทั้งหมดที่มี
วันพฤหัสบดี ที่  10 มกราคม 2556

สัปดาห์ที่  11

การเรียนการสอน



อาจารย์พูดถึงเรื่องจัดงานปีใหม่ของปี2อย่างเดียว โดยจะจัดในวัน
พุธที่ 23 มกราคม 2556 เวลา5โมงเย็น และในวันนั้นมีการจับฉลาก

ด้วย โดยให้นักศึกษาเตรียมมาและกำหนดราคาของขวัญคนละ 100

บาทขึ้นไป



- สอนในเรื่องของการแตกMind Mapping คือ การแตกสาระเนื้อหา

โดยคิดวิเคราะห์ ส่วนการลงมือกระทำเป็นวิธีการเรียนรู้ และ

 
ประสบการณ์การณ์สำคัญเป็นทักษะของการลงมือกระทำ
- Mind Mapp การสอนเรื่องดินที่กลุ่มของดิฉันช่วยกันทำ




วันพฤหัสบดี ที่ 3  มกราคม 2556

สัปดาห์ที่  10

การเรียนการสอน

วันนี้อาจารย์สอนการวัดหาพื้oที่ โดยใช้เครื่องมือในการวัด เช่น กระดาษสี่เหลี่ยม ขนาด 4*4 6*6 และ 8*8 โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างให้ดู จากการวัดทีวี จากนั้นก็ได้มอบหมายให้ทำงานเป็นคู่มาส่งในสัปดาห์ต่อไป



วันพฤหัสบดี ที่ 27  ธันวาคม 2555

สัปดาห์ที่  9

การเรียนการสอน

 สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันเทศกาลปีใหม่


สาระความรู้ที่นำมาฝาก

เจาะคณิตศาสตร์ปฐมวัย พ่อแม่ทราบหรือไม่ลูก ๆ เรียนอะไรกัน

เมื่อเอ่ยถึงวิชาคณิตศาสตร์ ต้องยอมรับว่าพ่อแม่ชาวไทยหลายคนเคยมีอดีตอันขมขื่นกับวิชานี้ แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า คณิตศาสตร์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทำให้มนุษย์คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน ตลอดจนมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ นอกจากนั้นคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ อีกหลายแขนง
สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่น และสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว การส่งเสริมให้เด็กในวัยนี้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต

เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์

ว่าแต่ว่า คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่าในแต่ละช่วงวัยของลูก เด็ก ๆ ควรมีความรู้ความเข้าใจในคณิตศาสตร์ในระดับใดบ้าง ทางสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้กำหนดคุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงอายุ ว่าควรมีความซับซ้อนแตกต่างกัน ดังนี้ค่ะ

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3 ปี ควรมีความสามารถดังนี้

1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน
3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ รู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากจากสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี ควรมีความสามารถดังนี้

1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเช้า เที่ยง เย็น และเรียงลำดับกิจกรรม หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา
3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี ควรมีความสามารถดังนี้

1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เวลา และเงิน สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก และปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน สามารถเรียงลำดับเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร
3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง สามารถใช้คำบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง และแสดงตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และจำแนกรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ หรือคลี่ และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถต่อแบบรูปที่กำหนดและสร้างเพิ่มเติม
5) มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

ส่วนเทคนิคจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกประการหนึ่งคือ ให้เด็กได้เรียนรู้ และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรม และเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไปนั่นเอง ซึ่งหากไม่มีในหนังสือที่โรงเรียนจัดหามาให้ ก็อาจไปหาซื้อเองได้ตามร้านหนังสือทั่วไปค่ะ

ทั้งหมดนี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นโอกาสดีของพ่อแม่ในยุคนี้ที่ (เคยไม่ชอบคณิตศาตร์เอาเสียเลย) จะได้ลองเรียนรู้ และหากิจกรรมสนุก ๆ มาเล่นกับลูกไปพร้อม ๆ กับการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ ทีมงานเชื่อว่า คุณพ่อคุณแม่ที่ขยาดกับการเรียนคณิตศาสตร์ยุคก่อนมา (แบบที่มีการบ้านเป็นตั้ง ให้นั่งทำกันหัวฟู) คงมีความสุข และมีทัศนคติที่ดีในการสอนคณิตศาสตร์ลูก ๆ กันมากขึ้นค่ะ

อ้างอิงข้อมูลจาก สสวท.

หมายเหตุ : ทาง สสวท. ได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามสาระ มาตรฐาน และตัวชี้วัด รวมทั้งตัวอย่างกิจกรรมไว้อย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อให้ครูและผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และสามารถเชื่อมต่อกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
วันพฤหัสบดี ที่  20 ธันวาคม  2555

สัปดาห์ที่ 8

การเรียนการสอน
  

 * หมายเหตุ     เป็นวันสอบกลางภาค  ไม่มีการเรียนการสอน

 ความรู้เพิ่มเติม



คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ

การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น

    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้

  1. การจำแนกประเภท
  2. การจัดหมวดหมู่
  3. การเรียงลำดับ
  4. การเปรียบเทียบ
  5. รูปร่างรูปทรง
  6. พื้นที่
  7. การชั่งตวงวัด
  8. การนับ
  9. การรู้จักตัวเลข
  10. รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
  11. เวลา
  12. การเพิ่มและลดจำนวน
จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่





วันพฤหัสบดี ที่ 13  ธันวาคม 2555

สัปดาห์ที่  7

 การเรียนการสอน

วันนี้อาจารย์สอนเกี่่ยวกับความหมายของมาตรฐาน ซึ่งทำให้เราได้ทราบถึงวิธีการแสดงจำนวน
เช่น เส้นจำนวน การเขียนเส้นแสดงจำนวน การใช้ตัวเลขกำกับ เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ก็ยังได้สอนเรื่องการวัดว่าการวัดคืออะไร ใช้เครื่องมืออะไรในการวัด เช่น การวัดความยาว การวัดน้ำหนัก วัดค่าเงิน วัดเวลา และวัดอุณหภูมิ หรือการวัดในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางจากบ้านมามหาวิทยาลัย ใช้เวลาเท่าไหร่ ซึ่งเรียนไปเราก็ปวดหัวไปค่ะ เพราะค่อนข้างจะง่วงนอน และหิวด้วย จากนั้นอาจารย์ก็ได้สอนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ว่าคืออะไร ซึ่งในส่วนนี้เราจะนำข้อมูลมาเสริมเพิ่มเติมให้ละเอียดยิบในด้านล่างของหน้าที่บันทึกนะคะ

และท้ายชั่วโมงอาจารย์ก็ได้สั่งงานให้ทำเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แล้วกลุ่มของเราก็มีสมาชิกด้วยกันสามคน คือ


นางสาวรัตนพร  หัดจะรวย
นางสาวศศิภาส  นันทะกูล
นางสาวณฦัฐพร  เพ็งศรี