สัปดาห์ที่ 5
การเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับความหมายของคำว่ามาตรฐานว่าหมายถึงอะไร ต่อจากนั้นครูก็ให้จับคู่นำเสนองานกลุ่มต่อจากสัปดาห์ที่แล้วที่ครูได้มอบหมายไว้ โดยให้แต่ละคู่ออกมานำเสนอหน้าห้องให้เพื่อนๆฟัง แล้วร่วมกันคิดวิคราะห์ในหัวข้อที่เพื่อนนำเสนอว่าเป็นอย่างไร ควรปรับปรุง หรือเพิ่มเติมส่วนไหนเข้าไป เป็นต้น
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐาน
มาตรฐานวิชาชีพครู
ความหมายของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา คือ ข้อกําหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่น
ศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพ ตอบสังคมได้ว่าการที่กฎหมายให้ความสําคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกําหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม นั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพ ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 49 กําหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ประกอบด้วย
1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกําหนดสําหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชํานาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชํานาญเฉพาะด้านและความชํานาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กําหนดว่ามีความรู้ ความสามารถ และความชํานาญ เพียงพอที่จะดํารงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่ นั่นก็คือการกําหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
3. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกําหนดเกี่ยกับการประพฤติตนของ ผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดํารงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกําหนดเป็นข้อบังคับต่อไป หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทําให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ยกข้อกล่าวหา
(2) ตักเตือน
(3) ภาคทัณฑ์
(4) พักใช้ใบอนุญาตมีกําหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี
(5) เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (มาตรา 54)
สํานักงานเลขาธิการคุรุสภาได้ดําเนินการศึกษาวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสํารวจความคิดเห็น จัดประชุมสัมมนา ประชุมเชิงปฏิบัติการ ประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งด้านการผลิต การพัฒนา และการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนํามากําหนดเป็นสาระสําคัญของมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการคุรุสภาในคราวประชุมครั้งที่ 5/2548 วันที่ 21 มีนาคม 2548 และที่ประชุม คณะกรรมการคุรุสภาครั้งที่ 6/2548 วันที่ 18 เมษายน 2548 ได้อนุมัติให้ออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นเครื่องมือสําคัญของผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งจะต้องประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลดีต่อผู้รับบริการ อันถือเป็นเป้าหมายหลักของการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้สามารถนําไปใช้ในการประกอบวิชาชีพให้สมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูงและได้รับการยอมรับยกย่องจากสังคม
แหล่งอ้างอิง : http://onumpai.multiply.com/journal/item/3
ความหมายของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา คือ ข้อกําหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่น
ศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพ ตอบสังคมได้ว่าการที่กฎหมายให้ความสําคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกําหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม นั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพ ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 49 กําหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ประกอบด้วย
1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกําหนดสําหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชํานาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชํานาญเฉพาะด้านและความชํานาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กําหนดว่ามีความรู้ ความสามารถ และความชํานาญ เพียงพอที่จะดํารงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่ นั่นก็คือการกําหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
3. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกําหนดเกี่ยกับการประพฤติตนของ ผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดํารงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกําหนดเป็นข้อบังคับต่อไป หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทําให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ยกข้อกล่าวหา
(2) ตักเตือน
(3) ภาคทัณฑ์
(4) พักใช้ใบอนุญาตมีกําหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี
(5) เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (มาตรา 54)
สํานักงานเลขาธิการคุรุสภาได้ดําเนินการศึกษาวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสํารวจความคิดเห็น จัดประชุมสัมมนา ประชุมเชิงปฏิบัติการ ประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งด้านการผลิต การพัฒนา และการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนํามากําหนดเป็นสาระสําคัญของมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการคุรุสภาในคราวประชุมครั้งที่ 5/2548 วันที่ 21 มีนาคม 2548 และที่ประชุม คณะกรรมการคุรุสภาครั้งที่ 6/2548 วันที่ 18 เมษายน 2548 ได้อนุมัติให้ออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นเครื่องมือสําคัญของผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งจะต้องประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลดีต่อผู้รับบริการ อันถือเป็นเป้าหมายหลักของการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้สามารถนําไปใช้ในการประกอบวิชาชีพให้สมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูงและได้รับการยอมรับยกย่องจากสังคม
แหล่งอ้างอิง : http://onumpai.multiply.com/journal/item/3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น